ก.พ. 5 2016
วันนี้จะเอาวิธีการตรวจสอบปัญหา Notebook ดับเอง มาแนะนำกันนะครับ มาดูกันว่าจะมีการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหากันอย่างไร
คุณ… ปฐมบท คนสูงวัย. สอบถามเข้ามาผ่านกลุ่มปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์ฟรี ว่า…
สวัสดีครับ Notebook ดับเองครับ เล่นอยู่สักพัก ก็ดับไปเอง. เป็นบ่อยมากครับ
notebook ดับเองอาจจะเกิดจากปัญหาดังต่อไปนี้
เมื่อพัดลมระบายความร้อนเสีย ความร้อนก็จะไม่สามารถระบายออกมาได้ ทำให้ซีพียูเกิดร้อนขึ้นเรื่อยๆ จากการทำงาน เมื่อถึงขีดจำกัดซีพียูก็จะตัดดับเอง เมื่อเรากดเปิดเครื่องใหม่ ถ้าซีพียูยังร้อนก็อาจจะเปิดไม่ติด ต้องทิ้งไว้ซักพักให้เย็น แล้วค่อยเปิดใหม่ หรืออาจจะเปิดติดเลย และอาจจะดับใหม่อีกครั้งในเวลาแค่ไม่นานหลังจากเปิดเครื่อง
โน๊ตบุ๊คหากมีเศษฝุ่นหรือหยากไย่หรืออย่างอื่นไปอุดตันทางระบายความร้อน ก็จะทำให้ระบายความร้อนออกไม่ได้หรือไม่สะดวก ก็จะส่งผลให้ซีพียูร้อน และเครื่องดับได้เช่นกัน
ซิลิโคนซีพียูเป็นตัวระบายความร้อนที่จะขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นตัวระบายความร้อนออกจากซีพียูโดยตรง โดยปกติ เมื่อมีการใส่ซีพียูในตัวเครื่อง ก็จะมีการใส่ซิลิโคนลงไปด้วย เมื่อเราใช้โน๊ตบุ๊คไปนานๆ ซิลิโคนก็จะเริ่มแห้งไปตามกาลเวลา เมื่อซิลิโคนแห้ง ก็ะเริ่มพบว่าโน๊ตบุ๊คเราจะเริ่มร้อนเร็วขึ้น และเมื่อซิลิโคนหมด โน๊ตบุ๊คก็จะดับเอง
ท่อทองแดงเป็นตัวระบายความร้อน โดยรับความร้อนจากซิลิโคนซีพียู ส่งต่อผ่านท่อทองแดงไปยังพัดลม เพื่อให้พัดลมเป่าออกไปจากตัวเครื่อง ถ้าท่อทองแดงนี้เสีย ความร้อนก็จะตกอยู่ที่ซิลิโคนและซีพียู ส่งผลให้เครื่องร้อนเร็ว และซิลิโคนแห้งเร็วขึ้น จนในที่สุดก็ประสบปัญหาเครื่องดับเองเช่นกัน
ปัญหานี้เกี่ยวกับระบบภาคจ่ายไฟ ต้องส่งช่างผู้ชำนาญในการเปลี่ยนซ่อม ราคาการซ่อมก็เป็นหลักพัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะส่งซ่อมหรือซื้อเครื่องใหม่ (ส่วนตัวผมแนะนำซื้อเครื่องใหม่น่าจะดีกว่านะครับ)
1. ลองเอามือแตะที่ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คด้านใต้ตัวเครื่องดู ว่าร้อนมากไหม
2. พัดลมระบายความร้อนมีลมออกไหม ลองเอามืออังดู บางทีอาจจะมีเศษฝุ่นอุดหรือปิดกั้นทางระบายความร้อน
3. พัดลมระบายความร้อนมีเสียงดังไหม ถ้าไม่มีพัดลมอาจจะเสีย
4. ถ้าพัดลมทำงานปกติ ต้องลองดูซิลิโคนระบายความร้อน ว่ายังมีอยู่ไหมหรือแห้งไปหมดแล้ว ถ้าแห้งก็ต้องใส่เพิ่มไปใหม่ โดยเช็ดของเก่าออกให้หมด แล้วใส่ของใหม่เข้าไป
5. หากพัดลม ซิลิโคน ฝุ่น ไม่ใช่สาเหตุของปัญหา ก็ให้ดูท่อทองแดงว่ามีสีเพี้ยนผิดปกติบ้างไหม ท่อทองแดงที่เสียจะมีลักษณะสีเพี้ยนในบางจุดให้ดูในบทความนี้ ชุดระบายความร้อนซีพียูโน๊ตบุ๊ค
6. หากตรวจสอบทุกจุดดีแล้ว ก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะภาคจ่ายไฟ ก็ให้ส่งช่างผู้ชำนาญตรวจสอบต่อไป
แต่โดยส่วนใหญ่ หากภาคจ่ายไฟมีปัญหาก็จะประสบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดเลย สำหรับปัญหาโน๊ตบุ๊คเครื่องดับเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากเครื่องร้อนนั่นเอง
หมายเหตุ: กรณีที่ต้องแกะเครื่องเพื่อตรวจสอบ ควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นคนทำ แต่หากต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองก็แนะนำให้ระมัดระวังในการแกะอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับมือใหม่อาจจะหาดูวิดีโอการแกะเครื่องใน youtube ตามรุ่นโน๊ตบุ๊คที่จะแกะ ซึ่งใน youtube ก็มีอยู่เยอะเลยทีเดียว หากพบว่าตรงไหนที่แกะไม่ออกก็ให้สันนิษฐานว่ามีน๊อตอยู่ อย่าฝืนดึงไป ค่อยๆ ทำไป ไม่ได้ยาก พอแกะเป็นแล้วเครื่องนึง เครื่องอื่นๆ ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน
หากใครพบปัญหา “notebook ดับเอง” ก็ลองเอาวิธีการตรวจสอบในบทความนี้ไปใช้กันดูนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยอาการเสีย รวมถึงอาจช่วยให้ท่านสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองนะครับ
By ziya • ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์, แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ • 0 • Tags: Notebook
กูรูคอมพิวเตอร์
ก.พ. 5 2016
Notebook ดับเอง
วันนี้จะเอาวิธีการตรวจสอบปัญหา Notebook ดับเอง มาแนะนำกันนะครับ มาดูกันว่าจะมีการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหากันอย่างไร
ที่มาของปัญหา
คุณ… ปฐมบท คนสูงวัย. สอบถามเข้ามาผ่านกลุ่มปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์ฟรี ว่า…
สวัสดีครับ
Notebook ดับเองครับ
เล่นอยู่สักพัก ก็ดับไปเอง. เป็นบ่อยมากครับ
สาเหตุของ notebook ดับเอง
notebook ดับเองอาจจะเกิดจากปัญหาดังต่อไปนี้
พัดลมระบายความร้อนเสีย
เมื่อพัดลมระบายความร้อนเสีย ความร้อนก็จะไม่สามารถระบายออกมาได้ ทำให้ซีพียูเกิดร้อนขึ้นเรื่อยๆ จากการทำงาน เมื่อถึงขีดจำกัดซีพียูก็จะตัดดับเอง เมื่อเรากดเปิดเครื่องใหม่ ถ้าซีพียูยังร้อนก็อาจจะเปิดไม่ติด ต้องทิ้งไว้ซักพักให้เย็น แล้วค่อยเปิดใหม่ หรืออาจจะเปิดติดเลย และอาจจะดับใหม่อีกครั้งในเวลาแค่ไม่นานหลังจากเปิดเครื่อง
มีเศษฝุ่น เศษหยากไย่ไปอุดตันทางระบายความร้อน
โน๊ตบุ๊คหากมีเศษฝุ่นหรือหยากไย่หรืออย่างอื่นไปอุดตันทางระบายความร้อน ก็จะทำให้ระบายความร้อนออกไม่ได้หรือไม่สะดวก ก็จะส่งผลให้ซีพียูร้อน และเครื่องดับได้เช่นกัน
ซิลิโคนซีพียูแห้ง
ซิลิโคนซีพียูเป็นตัวระบายความร้อนที่จะขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นตัวระบายความร้อนออกจากซีพียูโดยตรง โดยปกติ เมื่อมีการใส่ซีพียูในตัวเครื่อง ก็จะมีการใส่ซิลิโคนลงไปด้วย เมื่อเราใช้โน๊ตบุ๊คไปนานๆ ซิลิโคนก็จะเริ่มแห้งไปตามกาลเวลา เมื่อซิลิโคนแห้ง ก็ะเริ่มพบว่าโน๊ตบุ๊คเราจะเริ่มร้อนเร็วขึ้น และเมื่อซิลิโคนหมด โน๊ตบุ๊คก็จะดับเอง
ท่อทองแดงในชุดระบายความร้อนเสีย
ท่อทองแดงเป็นตัวระบายความร้อน โดยรับความร้อนจากซิลิโคนซีพียู ส่งต่อผ่านท่อทองแดงไปยังพัดลม เพื่อให้พัดลมเป่าออกไปจากตัวเครื่อง ถ้าท่อทองแดงนี้เสีย ความร้อนก็จะตกอยู่ที่ซิลิโคนและซีพียู ส่งผลให้เครื่องร้อนเร็ว และซิลิโคนแห้งเร็วขึ้น จนในที่สุดก็ประสบปัญหาเครื่องดับเองเช่นกัน
ภาคจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คมีปัญหา
ปัญหานี้เกี่ยวกับระบบภาคจ่ายไฟ ต้องส่งช่างผู้ชำนาญในการเปลี่ยนซ่อม ราคาการซ่อมก็เป็นหลักพัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะส่งซ่อมหรือซื้อเครื่องใหม่ (ส่วนตัวผมแนะนำซื้อเครื่องใหม่น่าจะดีกว่านะครับ)
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง
1. ลองเอามือแตะที่ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คด้านใต้ตัวเครื่องดู ว่าร้อนมากไหม
2. พัดลมระบายความร้อนมีลมออกไหม ลองเอามืออังดู บางทีอาจจะมีเศษฝุ่นอุดหรือปิดกั้นทางระบายความร้อน
3. พัดลมระบายความร้อนมีเสียงดังไหม ถ้าไม่มีพัดลมอาจจะเสีย
4. ถ้าพัดลมทำงานปกติ ต้องลองดูซิลิโคนระบายความร้อน ว่ายังมีอยู่ไหมหรือแห้งไปหมดแล้ว ถ้าแห้งก็ต้องใส่เพิ่มไปใหม่ โดยเช็ดของเก่าออกให้หมด แล้วใส่ของใหม่เข้าไป
5. หากพัดลม ซิลิโคน ฝุ่น ไม่ใช่สาเหตุของปัญหา ก็ให้ดูท่อทองแดงว่ามีสีเพี้ยนผิดปกติบ้างไหม ท่อทองแดงที่เสียจะมีลักษณะสีเพี้ยนในบางจุดให้ดูในบทความนี้ ชุดระบายความร้อนซีพียูโน๊ตบุ๊ค
6. หากตรวจสอบทุกจุดดีแล้ว ก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะภาคจ่ายไฟ ก็ให้ส่งช่างผู้ชำนาญตรวจสอบต่อไป
แต่โดยส่วนใหญ่ หากภาคจ่ายไฟมีปัญหาก็จะประสบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดเลย สำหรับปัญหาโน๊ตบุ๊คเครื่องดับเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากเครื่องร้อนนั่นเอง
หมายเหตุ: กรณีที่ต้องแกะเครื่องเพื่อตรวจสอบ ควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นคนทำ แต่หากต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองก็แนะนำให้ระมัดระวังในการแกะอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับมือใหม่อาจจะหาดูวิดีโอการแกะเครื่องใน youtube ตามรุ่นโน๊ตบุ๊คที่จะแกะ ซึ่งใน youtube ก็มีอยู่เยอะเลยทีเดียว หากพบว่าตรงไหนที่แกะไม่ออกก็ให้สันนิษฐานว่ามีน๊อตอยู่ อย่าฝืนดึงไป ค่อยๆ ทำไป ไม่ได้ยาก พอแกะเป็นแล้วเครื่องนึง เครื่องอื่นๆ ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน
หากใครพบปัญหา “notebook ดับเอง” ก็ลองเอาวิธีการตรวจสอบในบทความนี้ไปใช้กันดูนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยอาการเสีย รวมถึงอาจช่วยให้ท่านสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองนะครับ
By ziya • ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์, แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ • 0 • Tags: Notebook