วันนี้จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ external hard disk กันนะครับ ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท และการเลือกซื้อมาใช้ควรพิจารณาอย่างไร มาดูกันครับ
external hard disk คืออะไร
external hard disk ก็คือ ฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ที่ต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ บางคนเรียกว่า “ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา” เอาไว้สำหรับเก็บบันทึกข้อมูล เปรียบเสมือน flash drive ขนาดใหญ่นั่นเอง แต่จะมีความจุมากกว่า flash drive เพราะว่าเป็นฮาร์ดดิสก์ สามารถนำมาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน๊ตบุ๊คผ่านสาย USB
ตัวอย่าง external harddisk
ชนิดของ external hard disk (แบ่งตามขนาด)
external hard disk แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. external hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว ภายในบรรจุฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งก็คือฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คนั่นเอง
external hdd ขนาด 2.5 นิ้ว
2. external hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว ภายในบรรจุฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งก็คือฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือเครื่องพีซีนั่นเอง
external hdd ขนาด 3.5 นิ้ว
ชนิดของ external hard disk (แบ่งตาม port usb)
1. external hard disk แบบพอร์ท usb 2.0 ถ่ายส่งข้อมูลด้วยพอร์ท usb 2.0 ซึ่งจะช้ากว่าพอร์ท 3.0
2. external hard disk แบบพอร์ท usb 3.0 ถ่ายส่งข้อมูลด้วยพอร์ท usb 3.0 ซึ่งจะเร็วกว่าพอร์ท 2.0
ความจุของ external hard disk ในปัจจุบัน (13 ม.ค. 2559)
1. external hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว มีความจุตั้งแต่ 500 GB จนถึง 3 TB
2. external hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุตั้งแต่ 2 TB จนถึง 8 TB
ราคาของ exterlnal hard disk โดยประมาณ (อ้างอิงจากเว็บ J.I.B วันที่ 13 ม.ค. 2559)
ความจุ 500 GB
ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 1,690 บาท
ความจุ 750 GB
ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 1,720 บาท
ความจุ 1 TB
ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 1,990 บาท
ความจุ 2 TB
ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 3,290 บาท
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 3,390 บาท
ความจุ 3 TB
ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 5,750 บาท
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 4,020 บาท
ความจุ 4 TB
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 5,590 บาท
ความจุ 5 TB
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 7,990 บาท
ความจุ 6 TB
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 9,790 บาท
ความจุ 8 TB
ขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 12,900 บาท
การเลือกซื้อ external hard disk
การเลือกซื้อ external hard disk มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. ขนาด 2.5 นิ้ว จะมีขนาดเล็กพกพาสะดวกกว่าขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะหนักกว่าด้วยน้ำหนักฮาร์ดดิสก์
2. external hard disk แบบพอร์ท usb 3.0 จะถ่านโอนข้อมูลได้เร็วกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊คที่ใช้งานก็ต้องรองรับพอร์ท usb 3.0 ด้วย (สังเกตได้จากพอร์ท usb ที่เป็นสีน้ำเงิน หรือบางเครื่องก็อาจจะเป็นพอร์ทสีดำธรรมดา โดยคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะรองรับพอร์ท usb 3.0 เกือบทั้งหมด)
3. external hard disk บางยี่ห้อจะมีซอฟท์แวร์ในตัว ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูล เช่น seagate backup plus ขนาด 3.5 นิ้ว เป็นต้น
4. ควรพิจารณาเรื่องของประกันด้วย ปัจจุบันมีทั้งประกัน 2 ปี และ 3 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีประกันที่ 3 ปี
5. การเลือกซื้อควรซื้อแบบที่สามารถถอดสาย usb ออกจากกล่องได้ เพราะในบางครั้งที่สาย usb เสีย แค่เพียงเปลี่ยนสาย usb ก็จะสามารถใช้ external hard disk ได้เหมือนเดิม แต่หากเราซื้อแบบที่สาย usb ติดอยู่กับตัวกล่อง หากสาย usb เสีย เราต้องเปลี่ยนกล่องใหม่ทั้งกล่องเลยทีเดียว
ทำอย่างไรเมื่อ external hard disk เสียหรือใช้งานไม่ได้
หากยังอยู่ในประกันก็ให้ส่งอุปกรณ์เพื่อเคลมสินค้า จะได้รับการซ่อม และเปลี่ยนอุปกรณ์ตามข้อตกลงในประกัน แต่หากหมดประกันแล้วก็ต้องซ่อมโดยพิจารณาหาสาเหตุที่เสียดังนี้
สาเหตุที่เสีย มี 3 ประเด็นคือ
1. ตัวกล่องเสีย
2. สาย usb เสีย
3. ฮาร์ดดิสก์เสีย
วิธีการตรวจสอบ
1. ให้ถอดฮาร์ดดิสก์ภายในออกมา แล้วใส่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ปกติดีเข้าไป ถ้าใช้งานได้ดีแสดงว่าฮารืดดิสก์เสีย ให้หาฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนใหม่ โดยสามารถหาซื้อฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คหรือสำหรับพีซีมาเปลี่ยนได้เลยตามขนาดของฮาร์ดดิสก์เดิม
2. กรณีมีสาย usb แบบแยกจากตัวกล่องได้ ก็ให้ทดสอบเปลี่ยนสาย usb ดู สาย usb แบบดังกล่าวมีขายอยู่ทั่วไป
3. กรณีที่ฮาร์ดิสก์หรือสาย usb ไม่เสีย แสดงว่ากล่องเสีย อาจหยิบยืมกล่องของเพื่อน หรือจะหาซื้อกล่องแยกมาทดสอบก็ได้ ราคาประมาณ 400 บาท
ทางเลือกอื่นๆ สำหรับ external hard disk
มีทางเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือการซื้อกล่อง external hard disk เปล่าๆ หรือที่เรียกว่า enclosure มาใช้ และซื้อฮาร์ดดิสก์แยก หรือจะเอาฮาร์ดดิสก์ที่เรามีอยู่แล้วมาใช้ก็ได้ เป็นการประหยัดงบประมาณ โดยกล่องเปล่าราคาประมาณ 400 บาทเพียงเท่านั้น หากกล่องเสียก็ซื้อกล่องใหม่ หากฮาร์ดดิสก์เสียก็ซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ เป็นต้น
enclosure หรือกล่องใส่ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ค สไลด์เปิดปิดได้
จะเห็นได้ว่า external hard disk เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว มีหลายประเภท และหลายราคาให้เลือกซื้อมาใช้งาน แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อด้อยในตัว นับวันก็จะยิ่งมีราคาถูกลงๆ เรื่อยๆ แต่ถ้าใครคิดว่าแพงไปก็อาจจะหาซื้อตัวกล่องเปล่าหรือ enclosure มาใช้แทนก็ได้นะครับ
ม.ค. 13 2016
external hard disk
วันนี้จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ external hard disk กันนะครับ ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท และการเลือกซื้อมาใช้ควรพิจารณาอย่างไร มาดูกันครับ
external hard disk คืออะไร
external hard disk ก็คือ ฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ที่ต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ บางคนเรียกว่า “ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา” เอาไว้สำหรับเก็บบันทึกข้อมูล เปรียบเสมือน flash drive ขนาดใหญ่นั่นเอง แต่จะมีความจุมากกว่า flash drive เพราะว่าเป็นฮาร์ดดิสก์ สามารถนำมาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน๊ตบุ๊คผ่านสาย USB
ชนิดของ external hard disk (แบ่งตามขนาด)
external hard disk แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. external hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว ภายในบรรจุฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งก็คือฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คนั่นเอง
2. external hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว ภายในบรรจุฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งก็คือฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือเครื่องพีซีนั่นเอง
ชนิดของ external hard disk (แบ่งตาม port usb)
1. external hard disk แบบพอร์ท usb 2.0 ถ่ายส่งข้อมูลด้วยพอร์ท usb 2.0 ซึ่งจะช้ากว่าพอร์ท 3.0
2. external hard disk แบบพอร์ท usb 3.0 ถ่ายส่งข้อมูลด้วยพอร์ท usb 3.0 ซึ่งจะเร็วกว่าพอร์ท 2.0
ความจุของ external hard disk ในปัจจุบัน (13 ม.ค. 2559)
1. external hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว มีความจุตั้งแต่ 500 GB จนถึง 3 TB
2. external hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุตั้งแต่ 2 TB จนถึง 8 TB
ราคาของ exterlnal hard disk โดยประมาณ (อ้างอิงจากเว็บ J.I.B วันที่ 13 ม.ค. 2559)
ความจุ 500 GB
ความจุ 750 GB
ความจุ 1 TB
ความจุ 2 TB
ความจุ 3 TB
ความจุ 4 TB
ความจุ 5 TB
ความจุ 6 TB
ความจุ 8 TB
การเลือกซื้อ external hard disk
การเลือกซื้อ external hard disk มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. ขนาด 2.5 นิ้ว จะมีขนาดเล็กพกพาสะดวกกว่าขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะหนักกว่าด้วยน้ำหนักฮาร์ดดิสก์
2. external hard disk แบบพอร์ท usb 3.0 จะถ่านโอนข้อมูลได้เร็วกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊คที่ใช้งานก็ต้องรองรับพอร์ท usb 3.0 ด้วย (สังเกตได้จากพอร์ท usb ที่เป็นสีน้ำเงิน หรือบางเครื่องก็อาจจะเป็นพอร์ทสีดำธรรมดา โดยคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะรองรับพอร์ท usb 3.0 เกือบทั้งหมด)
3. external hard disk บางยี่ห้อจะมีซอฟท์แวร์ในตัว ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูล เช่น seagate backup plus ขนาด 3.5 นิ้ว เป็นต้น
4. ควรพิจารณาเรื่องของประกันด้วย ปัจจุบันมีทั้งประกัน 2 ปี และ 3 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีประกันที่ 3 ปี
5. การเลือกซื้อควรซื้อแบบที่สามารถถอดสาย usb ออกจากกล่องได้ เพราะในบางครั้งที่สาย usb เสีย แค่เพียงเปลี่ยนสาย usb ก็จะสามารถใช้ external hard disk ได้เหมือนเดิม แต่หากเราซื้อแบบที่สาย usb ติดอยู่กับตัวกล่อง หากสาย usb เสีย เราต้องเปลี่ยนกล่องใหม่ทั้งกล่องเลยทีเดียว
ทำอย่างไรเมื่อ external hard disk เสียหรือใช้งานไม่ได้
หากยังอยู่ในประกันก็ให้ส่งอุปกรณ์เพื่อเคลมสินค้า จะได้รับการซ่อม และเปลี่ยนอุปกรณ์ตามข้อตกลงในประกัน แต่หากหมดประกันแล้วก็ต้องซ่อมโดยพิจารณาหาสาเหตุที่เสียดังนี้
สาเหตุที่เสีย มี 3 ประเด็นคือ
1. ตัวกล่องเสีย
2. สาย usb เสีย
3. ฮาร์ดดิสก์เสีย
วิธีการตรวจสอบ
1. ให้ถอดฮาร์ดดิสก์ภายในออกมา แล้วใส่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ปกติดีเข้าไป ถ้าใช้งานได้ดีแสดงว่าฮารืดดิสก์เสีย ให้หาฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนใหม่ โดยสามารถหาซื้อฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คหรือสำหรับพีซีมาเปลี่ยนได้เลยตามขนาดของฮาร์ดดิสก์เดิม
2. กรณีมีสาย usb แบบแยกจากตัวกล่องได้ ก็ให้ทดสอบเปลี่ยนสาย usb ดู สาย usb แบบดังกล่าวมีขายอยู่ทั่วไป
3. กรณีที่ฮาร์ดิสก์หรือสาย usb ไม่เสีย แสดงว่ากล่องเสีย อาจหยิบยืมกล่องของเพื่อน หรือจะหาซื้อกล่องแยกมาทดสอบก็ได้ ราคาประมาณ 400 บาท
ทางเลือกอื่นๆ สำหรับ external hard disk
มีทางเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือการซื้อกล่อง external hard disk เปล่าๆ หรือที่เรียกว่า enclosure มาใช้ และซื้อฮาร์ดดิสก์แยก หรือจะเอาฮาร์ดดิสก์ที่เรามีอยู่แล้วมาใช้ก็ได้ เป็นการประหยัดงบประมาณ โดยกล่องเปล่าราคาประมาณ 400 บาทเพียงเท่านั้น หากกล่องเสียก็ซื้อกล่องใหม่ หากฮาร์ดดิสก์เสียก็ซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า external hard disk เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว มีหลายประเภท และหลายราคาให้เลือกซื้อมาใช้งาน แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อด้อยในตัว นับวันก็จะยิ่งมีราคาถูกลงๆ เรื่อยๆ แต่ถ้าใครคิดว่าแพงไปก็อาจจะหาซื้อตัวกล่องเปล่าหรือ enclosure มาใช้แทนก็ได้นะครับ
By ziya • ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ • 0 • Tags: external hard disk