ส.ค. 5 2015
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.2558
ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
โดยใจความสำคัญ คือ มีบทบัญญัติที่เข้มข้นขึ้นสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์แบบออนไลน์ โดยสรุปแล้วมีข้อควรระมัดระวัง ดังนี้
- มีการระบุความผิดในกรณีที่เราให้ซอฟแวร์ต่างๆ ไปแคร็ก หรือแฮ็ก ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต่างๆ ต่อไปนี้ ไมว่าคุณเป็นใครก็ตาม เกิดไปให้โปรแกรมที่ใช้ในการแคร็ก หรือ แฮ็กลิขสิทธิ์ต่างๆ เป็นโทษตามกฎหมาย และเพิ่มโทษเข้ามาอีกด้วย
- มีมาตรการพิเศษสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์กรณีที่ทราบว่าเว็บที่ออนไลน์มีการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ร้องขอต่อศาลเพื่อปิดบล็อกเว็บนั้นหรือลบข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตได้เลย
- เมื่อนำภาพคนอื่นมา ห้ามลบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่แสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท แต่ถ้านำไปทำเพื่อการค้า โทษจะเพิ่มขึ้นเป็นปรับ 4 แสนบาท
- อยากจะแชร์คลิปที่น่าสนใจ ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้ง มิฉะนั้น จะมีความเสี่ยงในการละเมิดลิขสิทธิ์
- ภาพของนักกีฬา และภาพดาราฮอลลีวูด เป็นภาพที่มักจะโดนฟ้องอยู่บ่อยๆ เพราะจะมีบริษัทที่ดูแลสิทธิทั่วโลกอยู่ สื่อเองก็โดนฟ้องมาแล้ว จะอ้างว่าเป็นภาพบุคคลสาธารณะก็ไม่สามารถอ้างได้ กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้ให้ข้อยกเว้นไว้ ส่วนกรณีบล็อกที่ใช้ส่วนตัวและแชร์เพื่อสาธารณะอย่างแฟนเพจของแฟนคลับอย่างนี้ได้รับข้อยกเว้น ไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า”
- กรณีทำซ้ำชั่วคราว เช่น ดูหนังฟังเพลง ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- เพิ่มสิทธินักแสดงโดยให้มีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
- ประเด็นการ ส่งภาพสวัสดี ตอนเช้า ซึ่งมีทั้งภาพดอกไม้ วิวทิวทัศน์ ทางแอพพลิเคชั่นไลน์ สามารถทำได้ หากส่งเป็นการส่วนตัว ไม่มีการดัดแปลง ลบข้อความ ไม่แสวงหากำไร ไม่นำไปใช้ในทางที่ผิด และไม่กระทบกับเจ้าของ ทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนลิขสิทธิ์โดยภาพดังกล่าวถือเป็นสิทธิ์ของเจ้าของภาพ แต่หากเจ้าของมีการฟ้องร้องดำเนินคดีก็จะถือว่าผู้ที่นำไปแชร์ต่อมีความผิด
ข้อควรระวังอื่นๆ ตามพรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
การนำภาพ คลิป ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ไปโพสต์ แชร์ ทางแอพพลิเคชั่นต่างๆ หากเป็นข้อความไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบต่อความมั่นคง และลามกอนาจาร ถือว่ามีความผิดตาม มาตรา 14 มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
อ่านพรบ. ฉบับเต็มที่นี่
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- http://www.thairath.co.th/content/516167
- http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/content?id=55bf3382be04703e2e8b4693#.VcGQjvntmko (รายการ เสาร์เสวนา วันที่ 1 ส.ค.ได้พูดคุยกับอ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และที่ปรึกษาด้านกฏหมาย)
แนวข้อสอบ (ปลายภาค) |
ตุลาคม 28, 2015 @ 1:26 am
[…] ปี พ.ศ2558 http://กูรูคอมพิวเตอร์.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A…/ – ระบบสารสนเทศ – ระบบเครือข่าย […]
ข้อควรระวังในการใช้สื่อออนไลน์ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ » สำนักงานสาธารณสุขอำเ
ตุลาคม 29, 2015 @ 6:40 pm
[…] สรุปสาระสำคัญ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ 2558 […]
พฤศจิกายน 20, 2015 @ 2:57 pm
ขอสอบถามเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ พรบ คอมพิวเตอร์ ผมอยากรู้ว่าถ้ามีกรณี
– เปิด Youtube แล้วใช้กล้องตั้งอัดโดยใช้เพื่อการค้า แสวงหากำไร โดย VDO ใน Youtube นั้นมีลิขสิทธิ์ แต่เราดูจนจบโดยไม่มีการ Skip เลย ผิดไหมครับ
– เช่นเดียวกับข้อด้านบนครับ แต่คราวนี้บังเอิญในตัว VDO สมมติมันยาว 15 นาที เรากด Skip รัวๆ ไปในส่วนที่เราต้องการจะอัดออกมา แบบนี้ผิดไหมครับ มันเข้าข่ายคล้าย ตัดต่อ ดัด แปลง แก้ไข ไหมครับ เพราะเราไปในจุดๆ ที่เราต้องการเท่านั้น แล้วเราตั้งกล้องอัดเพื่อเผยแพร่ โดยแสวงหากำไรครับ
– กรณีเดียวกับ Youtube เลยครับ แต่คราวนี้เป็น Google ถ้าเราเปิดภาพที่เราต้องต้องการจะสื่ออกมา โดยเปิดผ่าน Google และใช้กล้องอัด แบบนี้ผิดไหมครับ